เช็กให้ชัวร์! ปวดหลังจากการเสริมหน้าอกหรือออฟฟิศซินโดรม
อาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) หรือการปวดกล้ามเนื้อบริเวณเดิมๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดการอักเสบ
“วงวารปวดหลัง เข้าแล้วออกยาก”
หลายคนเกิดปัญหา “ปวดหลัง” ที่ทำยังไงก็ไม่หายสักที ก่อนอื่นต้องหาต้นเหตุของการปวดหลังและทำการปรับพฤติกรรมให้ได้เสียก่อน การปวดหลังจึงจะดีขึ้น ยกเว้นผู้ที่ปวดหลังจากปัญหาสุขภาพ กล้ามเนื้อและเส้นประสาท ในลักษณะนี้จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา
โครงสร้างของกระดูกสันหลัง ประกอบไปด้วย
- กระดูกสันหลังส่วนคอ
- กระดูกสันหลังส่วนอก
- กระดูกสันหลังส่วนเอว
- กระดูกกระเบนเหน็บ
- กระดูกก้นกบ
- ข้อกระดูกสันหลัง
- หมอนรองกระดูกสันหลัง
- กล้ามเนื้อ
สาเหตุปวดหลัง ปวดบริเวณไหนเกิดจากอะไร
- การบาดเจ็บจากกิจกรรม การเล่นกีฬา การนอนหรือการนั่งไม่ถูกต้อง
- โครงสร้างกล้ามเนื้อหรือกระดูกสันหลังอ่อนแอ
- โครงสร้างกระดูกผิดรูป เช่น หลังค่อมและหลังคด
- ความเสื่อมจากวัย
- อุบัติเหตุ
- การติดเชื้อ อักเสบบริเวณกระดูกสันหลัง
- ความเจ็บป่วย เช่น โรคเส้นเลือดโป่งพองในช่องท้อง ตับอ่อนอักเสบ กรวยไตอักเสบ ออฟฟิศซินโดรม
- ขนาดของหน้าอกที่ไม่สมส่วน
- ก้มเล่นมือถือหรือสะพายกระเป๋าหนักเป็นเวลานานจนทำให้เกิดภาวะไหล่เอียง ไหล่ทรุด ส่งผลให้ปวดหลังบริเวณส่วนบน
- ก้มยกของหนักผิดสรีระ ทำให้ปวดหลังส่วนกลาง
- นอนเตียงที่นุ่มหรือแข็งเกินไป ทำให้ปวดบริเวณหลังส่วนนกลาง
- น้ำหนักตัวที่มากขึ้นส่งผลให้ปวดหลังส่วนล่าง
- ฯลฯ
จะเห็นว่าอาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) หรือการปวดกล้ามเนื้อบริเวณเดิมๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดการอักเสบ เช่น หลัง คอ บ่า ไหล่ แขน ข้อมือ
โดยมากพบในพนักงานออฟฟิศ ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน ผู้หญิงที่ต้องใส่รองเท้าส้นสูงยืนเป็นเวลานานหรือผู้ที่ต้องทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน โดยในแต่ละวันแทบไม่เปลี่ยนอิริยาบทเลย
การรักษาตัวหากปวดหลังจากออฟฟิศซินโดรม สามารถเข้ารับการนวดคลายเส้น การทำกายภาพบำบัด เทคนิครักษาทางการแพทย์แผนไทยหรือแผนปัจจุบัน ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็จะช่วยให้หายได้
ในผู้ที่มีอาการปวดหลังจากการเสริมหน้าอก ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังได้เช่นกัน โดยมากอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นใน 2-3 วัน เนื่องจากการดูแลตัวเองหลังเสริมหน้าอกที่ต้องนอนหงายเป็นเวลานาน ร่วมกับการพันผ้าหรือใส่ชุดกระชับหน้าอกที่มีขนาดแน่นเกินไป และน้ำหนักของซิลิโคนที่มีน้ำหนักมากขึ้นกว่าเดิมอย่างมาก ก็ทำให้เกิดการปวดหลังได้เช่นกัน
อาการปวดหลัง หลังจากเสริมหน้าอกเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก
ผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยมากเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนั้นควรสังเกตพฤติกรรมหากพบความผิดปกติ เช่น มีไข้ มีน้ำเหลืองไหล แน่นหน้าอก หรือมีอาการบวมช้ำ ฯลฯ เช่นนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดเพื่อสอบถามการรักษาในลำดับต่อไป
ก่อนการ เสริมหน้าอก เพื่อลดความเสี่ยงในผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น ควรเลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน ชื่อเสียงของแพทย์ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด