เสริมหน้าผาก ต้องปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง

การเสริมหน้าผาก บอกเลยว่าตอนนี้นับเป็นการศัลยกรรมรองจากจมูก เพราะช่วยสร้างมิติบนใบหน้าได้ ช่วยให้รูปทรงหน้าผากละมุน มีความรับโค้งเพิ่มมิติให้ใบหน้าและยังช่วยให้จมูกมีสันโด่งขึ้นมาได้ 

ปัจจุบันเทคนิคทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก ทำให้ในตอนนี้ใช้เทคนิคการเสริมหน้าผาก 3 รูปแบบ ได้แก่ การฉีดสารเติมเต็ม การเติมเต็มหน้าผากด้วยไขมันตัวเองและการเสริมผากด้วยซิลิโคน ทั้งนี้ทั้ง 3 แบบมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป

สำหรับใครกำลังมีวางแผนที่จะทำหน้าผาก แล้วยังมีข้อสงสัยว่า เสริมหน้าผากแล้วดูแลยากไหม? วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้ว

อยากเสริมหน้าผาก ทำยังไง

วิธีปฏิบัติตนหลังเสริมหน้าผาก

  1. ประคบเย็นบ่อยครั้งเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในช่วง 2 วันแรกหลังเข้ารับการเสริมหน้าผาก เพื่อลดความบวม
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหงายและหนุนหมอนสูง หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำหรือนอนตะแคง อย่างน้อย 7-10 วัน 
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำบริเวณแผล และงดสระผมอย่างน้อย 10 วัน 
  4. งดการสัมผัส จับ หรือขยับบริเวณหน้าผาก 1 เดือน
  5. พันผ้าพันติดต่อกัน 3 วัน และในวันที่ 4 เข้ามาเปลี่ยนผ้าพันแผลพร้อมพันต่อเนื่องอีก 7 วัน 
  6. เข้ารับการตัดไหมหลังจากการเสริมหน้าผาก 10 วัน 
  7. งดออกกำลังกายอย่างน้อย 1 เดือน
  8. หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารหมักดอง อาหารทะเล อาหารที่มีโซเดียมสูง รวมทั้งอาหารแสลงทุกชนิด ประมาณ 1 เดือน
  9. งดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ 1-3 เดือน 
  10. พบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด เพื่อติดตามผลอย่างใกล้ชิด

ขั้นตอนเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด

เตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดด้วยการ “ดมยาสลบ”

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเสริมหน้าผาก

เตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดด้วย “ยาเบลอ”

เสริมหน้าผาก การเตรียมตัว

ส่วนใครที่กำลังวางแผนหรือกำลังเตรียมตัวในการเสริมจมูก ทำจมูกไปพร้อมกับการเสริมหน้าผาก ก็สามารถถทำไปพร้อมกันได้ ทั้งนี้จะยิ่งช่วยให้การออกแบบละเอียดมากยิ่งขึ้นได้ใบหน้า หรือในผู้ที่มีแผนการเสริมจมูกหลังจากการเสริมหน้าผาก สามารถแจ้งแพทย์ให้ทราบ เพื่อให้ดีไซน์สวยงามรับกับจมูกซีรีย์ใหม่ในอนาคต โดยไม่ต้องแก้หน้าผากหรือเสริมหน้าผากใหม่แต่อย่างใด

การเสริมหน้าผาก แพทย์จะทำการประเมินไซส์ซิลิโคน ระดับความโหนกนูนให้เหมาะแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้ ทั้งการใช้ซิลิโคนสำเร็จรูปหรือซิลิโคนเฉพาะบุคคล กำหนดตำแหน่งในการวางซิลิโคนและกำหนดจุดแผลบริเวณใต้ไรผม เพื่อให้ผู้เข้ารับการดูแลเข้าใจไปพร้อมกัน